วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


กิจกรรมการเรียนการสอน


             วันนี้อาจารย์ไม่ได้เอาตัวปั๊มมาอาจารย์เลยเรียกเช็กชื่อแทน หลังจากที่เพื่อนๆมากันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ก็ทบทวนเนื้อหาการเรียนทั้งหมดให้นักศึกษาฟังเพื่อเป็นการทบทวนไม่ให้นักศึกษาลืมเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษายื่นขึ้นเป็นวงกลม เพื่อที่จะรำวงจับกลุ่มกันกัน 5 คน แต่งนิทานเองเพื่อที่จะออกมาแสดงละครหน้าชั้นเรียน หัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้คือ ถ้าสิ่งมีชีวิตพูดได้นักศึกษาคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น






        หลังจากที่แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งนิทานของกลุ่มตัวเองเสร็จหมดทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็จะให้กลุ่มที่พร้อมออกมาแสดงละครนิทานที่กลุ่มของตนเองแต่งให้เพื่อนๆดูหน้าชั้นเรียน

ภาพการแสดงละครของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 นิทานเรื่อง ถ้าฉันเดินได้





ข้อคิดของนิทานเรื่องนี้ คือ ทุกๆอย่างควรอยู่ในที่ที่เหมาะสมกับตัวเอง เราไม่ควรไปเปลี่ยนในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เราทุกคนต้องยอมรับผลดีและผลเสียของตัวเอง




กลุ่มที่ 2 นิทานเรื่อง ยีราฟคู่กระหายน้ำ




ข้อคิดจากนิทานเรื่องนี้ คือ อย่าหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ถ้ามีอะไรอยู่แล้วก็ควรใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้คุ่มค่าที่สุด 


กลุ่มที่ 3 นิทานเรื่อง ป่ามหัศจรรย์




ข้อคิดจากนิทานเรื่องนี้ คือ บางสิ่งที่จำเป็นต่อเราหรือเป็นของคู่กับเราเราก็ควรจำใช้เพราะเป็นสิ่งที่คู่กับเรา อะไรที่เราต้องกินเราก็ต้องกิน เพราะเราต้องยอมรับว่ามันคือวัฏจักร 


กลุ่มที่ 4 นิทานเรื่อง เพื่อนรัก (กลุ่มของดิฉันเองคะ)




ข้อคิดจากนิทานเรื่องนี้ คือ เราเป็นเพื่อนกันเราควรจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ควรเห็นแก่ตัวและเอาเปรียบเพื่อน


กลุ่มที่ 5 นิทานเรื่อง เจ้าหญิงกบ




ข้อคิดจากนิทานเรื่องนี้ คือ เราควรภูมิใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ควรไปหาสิ่งใหม่ที่อาจทำให้เราเดือดร้อนได้


          หลังจากนั้นอาจารย์ก็ถามนักศึกษาแต่ละกลุ่มว่าได้อะไรจากการเล่นละครนี้บ้าง โดยถามนักศึกษาแต่ละคนเพื่อที่จะแสดงความรู้สึกหลังจากที่ได้แต่งนิทานและมาเล่นให้เพื่อนๆดูหน้าชั้นเรียน 



            ต่อไปเป็นกิจจกรรมทำจังหวะดนตรีจากตัวเราโดยไม่ใช้วัสดุสิ่งของแต่ให้ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายของเรามาทำเป็นจังหวะเพลง อาจารย์ให้นักศึกษารำวงเหมือนเดิมโดยครั้งนี้แต่ละกลุ่มห้ามีคนซ้ำกลุ่มเดิมภายในกลุ่ม หลังจากที่นักศึกษาจับกลุ่มกันได้แล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเอาเพลงอะไรก็ได้เพื่อที่จะให้เราร้องเองและทำจังหวะดนตรีประกอบเพลง โดยคนในกลุ่มห้ามทำจังหวะที่ซ้ำกันภายในกลุ่ม

วีดีโอการทำจังหวะดนตรีโดยใช้ส่วนประกอบของร่างก่ายเรา

กลุ่มที่ 1 เพลงขอใจแลกเบอร์โทร



กลุ่มที่ 2 เพลงทะเลแสนงาม



กลุ่มที่ 3 เพลงอาบน้ำซู่ซ่า



กลุ่มที่ 4 เพลงพี่น้องกัน



กลุ่มที่ 5 เพลงนกกระจิบ



ประโยชน์ที่ได้รับและการนำเอามาประยุกต์ใช้ 

                   ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์โดยการแต่งนิทานขึ้นมาเองเพื่อที่จะเอานิทานไปบูรณาการกับความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้สอดคล้องกัน และการนำความรู้ที่ได้จากการทำจังหวะดนตรีจากส่วนต่างๆของร่างกายตัวเองมาทำจังหวะประกอบเพลง โดยที่ไม่ใช้วัสดุช่วย เพราะถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ดนตรีต่างๆเราก็สามารถเอาส่วนของร่างกายตัวเองมาทำให้เกิดประโยชน์ได้จากสถานะการณ์นั้นๆ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง 
               
           แต่งกายมาเรียนสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์ ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 

ประเมินเพื่อน

             
          เพื่อนๆแต่งกายมาเรียนสุภาพเรียบร้อย ส่วนมากจะมาตรงต่อเวลากัน  ตั้งใจเรียนกันทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

 ประเมินอาจารย์

               
          อาจารย์แต่งกายมาสอยสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะและเป็นกันเองมาก มาตรงต่อเวลา  มีกิจกรรมแปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำอยู่เสมอและสอนสิ่งที่นักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจสอนให้เข้าใจยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 


วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


กิจกรรมการเรียนการสอน

             วันนี้ใครเข้ามาก่อนก็ไปหยิบตัวปั้มมาปั้มเพื่อเป็นการเช็กชื่อว่ามาเรียน หลังจากที่เพื่อนๆมากันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาการสอน อาจารย์ถามนักศึกษาว่าเราเรียนกันไปกี่ครั้งแล้ว เรียนเรื่องอะไรบ้างเพื่อเป็นการทบทวนความรู้หลังจากเรียนไป  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่า นักศึกษามองเห็นภูเขาแล้วนึกถึงอะไรได้บ้าง นักศึกษาตอบตามจินตนาการที่ไม่ซ้ำกัน อาจารย์แบ่งการมองของนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
1.กลุ่มที่มองเห็นเกี่ยวกับภูเข้าเลย เช่น ต้นไม้ ดิน หิน เป็นต้น
2.กลุ่มที่มองเห็นแบบเทียบเคียง เช่น มองเห็นเป็นนม เป็นต้น
กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้นักศึกษาเล่นเกม โดยอาจารย์จะพูดคำว่า  และให้นักศึกษาตอบห้ามซ้ำกัน 
เบิก เช่น เบิกเงิน เบิกวัสดุอุปกรณ์ เบิกบาน เป็นต้น
มะ เช่น มะยม มะไฟ มะปาง เป็นต้น
กะ/กระ เช่น กระชาย กระเทย กระทะ กะหล่ำปลี เป็นต้น



           หลังจากนั้นอาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่าการเคลื่อนไหวตรงจังหวะไหนบ้างที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์ เช่น 
1.การเคลื่อนไหวประกอบเพลง คือการเต้นแอโรบิค เราจะคิดสร้างสรรค์โดยท่าทาง การใช้เพลงโดยมีจังหวะแต่เราจะใช้ท่าทาง
ตามอิสระ
2.การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย เช่นเล่าเรื่องราวโดยให้เด็กคิดท่าทางตามจินตนาการของเด็กเอง โดยเด็กจะทำท่าทางต่างๆ
3.การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง เช่น ครูไม่ควรกำหนดซ้ายขวาให้เด็กเพราะจะทำให้เด็กซับสนเรื่องทิศทางเพราะเด็กยังจำไม่ค่อยได้ 
4.การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม เด็กจะได้ความสร้างสรรค์คือการเป็นผู้นำ เพราะผู้นำจะเป็นคนคิดและให้ผู้ตามทำตาม
5.การเคลื่อนไหวแบบความจำ เช่น ไปตามมุมต่างๆแต่ครูจะเป็นคนกำหนดมุมต่างๆให้ 
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 6 กลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาคิดกิจกรรมการเคลื่อนไหว อาจารย์ได้ปรบมือให้นักศึกษาดูเพื่อให้นักศึกษาตอบว่าจังหวะที่อาจารย์ปรบมือคือจังหวะอะไร 
จังหวะมี ท3 ระดับคือ ระดับเร็ว ระดับช้า ระดับปกติ การปรบมือระดับปกติก็เหมือนการเต้นของหัวใจ






              ต่อไปคือการการออกมานำเสนอกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มได้ช่วยกันระดมความคิดว่าเราจะสอบแบบไหน โดยแต่ละกลุ่มต้องเลือกคนในกลุ่มมาเป็นครู 1 คน เพื่อออกมาสอนกิจกรรมการสอนที่ในกลุ่มเราได้ช่วยกันคิด กลุ่มของเราจับฉลากกันว่าใครจะเป็นคนสอน กลุ่มเราสอนเรื่องการเคลื่อนไหวประกอบเพลง เอาพลง แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง โดยผู้สอนคือตัวฉันเอง



ภาพกิจกรรมการสอนของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง



กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (เพลงแม่ไก่ออกไข่)



กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม



กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย



กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวแบบความจำ



กลุ่มที่ 6 การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์


ประโยชน์ที่ได้รับและการนำเอามาประยุกต์ใช้ 
              
                   ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการออกแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะเอากิจกรรมที่เราได้ช่วยกันระดมความคิดในกลุ่ม ไปลองสอนเพื่อนๆว่ากิจกรรมที่เราคิดนั้นสามารถสอนเด็กได้จริงไหม

ประเมินผล

ประเมินตนเอง 
               
           แต่งกายมาเรียนสุภาพเรียบร้อย ืมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์ ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 

ประเมินเพื่อน

             
          เพื่อนๆแต่งกายมาเรียนสุภาพเรียบร้อย ส่วนมากจะมาตรงต่อเวลากัน  ตั้งใจเรียนกันทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

 ประเมินอาจารย์

               
          อาจารย์แต่งกายมาสอยสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะและเป็นกันเองมาก มาตรงต่อเวลา  มีกิจกรรมแปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำอยู่เสมอ